วันพฤหัสบดีที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิด (Apperception)

ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิด (Apperception)


ทิศนา   แขมมณี (2551:48) กลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิดมีความเชื่อดังนี้
                 - มนุษย์เกิดมาไม่มีทั้งความดีความเลวในตัว การเรียนรู้เกิดจากแรงกระตุ้นภายนอก
                 - มนุษย์เกิดมาพร้อมกับสมองที่ว่างเปล่า การเรียนรู้เกิดจากการได้รับประสบการณ์
                 - การสอนควรเริ่มจากการทบทวนความรู้เดิมของผู้เรียนเสียก่อนแล้วจึงเสนอความรู้ใหม่
                 - การเรียนรู้มี 3 ระดับ คือ ขั้นการเรียนรู้โดยประสาทสัมผัส การจำความคิดเดิมและขั้นการเกิดความคิดรวบยอดและความเข้าใจ


รศ.ดร.ปรียาพร   วงศ์อนุตรโรจน์ (2546:59) ทฤษฎีการเชื่องโยงมีหลักเบื้องต้นว่า การเรียนรู้เกิดจากการเชื่องโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง โดยแสดงในรูปแบบต่างๆ จนกว่าจะเป็นที่พอใจที่เหมาะสมที่สุด ซึ่งเรียกว่า การลองถูกลองผิด ทฤษฎีการเชื่อมโยงจะเน้นเรื่องการฝึกหัดซ้ำและการให้การเสริมแรง ผู้เรียนจะต้องได้รับความช่วยเหลือในด้านการมองเห็นความแตกต่าง


สุริน ชุมสาย ณ อยุธยา.(http://surinx.blogspot.com/2010/08/2550-40-107-3-1-2-3-20-3-20-4-2550-45.html ) ได้รวบรวมความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้ไว้ว่า
1.มนุษย์เกิดมาไม่มีทั้งความดีและความเลวในตัวเอง การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากแรงกระตุ้นภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม (neutral - passive)
2.จอห์น ล็อค เชื่อว่าคนเราเกิดมาพร้อมกับจิตหรือสมองที่ว่างเปล่า (tabula rasa) การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 การส่งเสริมให้บุคคลมีประสบการณ์มาก ๆ ในหลาย ๆ ทางจึงเป็นการช่วยให้บุคคลเกิดการเรียนรู้
3.วุนด์ เชื่อว่าจิตมีองค์ประกอบ 2 ส่วน คือการสัมผัสทั้ง 5 (sensation) แลการรู้สึก (feeling) คือการตีความหรือแปลความหมายจากการสัมผัส
4.ทิชเชเนอร์มีความเห็นเช่นเดียวกับวุนด์ แต่ได้เพิ่มส่วนประกอบของจิตอีก 1 ส่วน ได้แก่ จินตนาการ (imagination) คือการคิดวิเคราะห์
5. แฮร์บาร์ต เชื่อว่าการเรียนรู้มี 3 ระดับคือขั้นการเรียนรู้โดยประสาทสัมผัส (sens activity) ขั้นจำความคิดเดิม (memory characterized) และขั้นเกิดความคิดรวบยอดและเข้าใจ (conceptual thinking or understanding) การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 และสั่งสมประสบการณ์หรือความรู้เหล่านี้ไว้ การเรียนรู้นี้จะขยายขอบเขตออกไปเรื่อย ๆ เมื่อบุคคลได้รับประสบการณ์หรือความรู้ใหม่เพิ่มขึ้น โดยผ่านกระบวนการเชื่อมโยงและการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ใหม่กับความรู้เดิมเข้าด้วยกัน ( apperception)
6.แฮร์บาร์ตเชื่อว่าการสอนควรเริ่มจากการทบทวนความรู้เดิมของผู้เรียนเสียก่อนแล้วจึงเสนอความรู้ใหม่ ต่อไปควรจะช่วยให้ผู้เรียนสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ จนได้ข้อสรุปที่ต้องการแล้วจึงให้ผู้เรียนนำข้อสรุปที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับปัญหาหรือสถานการณ์ใหม่ ๆ

             

สรุป
               ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิด มีความเชื่อว่ามนุษย์เกิดมาพร้อมกับสมองที่ว่างเปล่า  ไม่มีความดีความเลวในตัว  การเรียนรู้เกิดจากการได้รับประสบการณ์ จากแรงกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อมภายนอก  มีสิ่งเร้าและการตอบสนอง มีการลองผิดลองถูกและทฤษฎียังเน้นเรื่องการฝึกหัดซ้ำและการให้การเสริมแรง


ที่มา
ทิศนา   แขมมณี. (2551). ศาสตร์การสอน. กรุงเทพฯ :จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รศ.ดร.ปรียาพร   วงศ์อนุตรโรจน์. (2546). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ :ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.
สุริน ชุมสาย ณ อยุธยา.[Online]. ทฤษฎีและแนวในการจัดการเรียนรู้.

 http://surinx.blogspot.com/2010/08/2550-40-107-3-1-2-3-20-3-20-4-2550-45.html.  เข้าถึงเมื่อ 5 สิงหาคม 2558.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น