ทิศนา แขมมณี (2551:50) นักคิดในกลุ่มนี้มองธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะที่เป็นกลางคือ
ไม่ดีไม่เลว การกระทำต่างๆ ของมนุษย์เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอก
พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า
การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง
กลุ่มพฤติกรรมนิยมให้ความสนใจกับ “พฤติกรรม” มาก
เพราะพฤติกรรมเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัด สามารถวัดได้และทดสอบได้
ดร.วิชัย ตันศิริ (2549:43)
ได้อธิบายทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยมไว้ว่ากลุ่มนี้ไม่เชื่อว่าจิตเป็นอิสระหรือมีคุณสมบัติทางปัญญามาแต่กำเนิด
แต่เชื่อว่าสภาวะจิตแรกเกิดนั้นมีความว่างเปล่า
แต่เมื่อได้รับข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมภายนอกผ่านประสาททั้งห้า
จึงเก็บข้อมูลไว้ในความจำและเป็นความรู้ต่อไป
สุรางค์ โค้วตระกูล (2541:187) พื้นฐานความคิดของทฤษฎีพฤติกรรมนิยมมีดังนี้
- พฤติกรรมทุกอย่างเกิดขึ้นโดยการเรียนรู้และสามารถสังเกตได้
-
พฤติกรรมแต่ละชนิดเป็นผลรวมของการเรียนที่เป็นอิสระหลายอย่าง
-
แรงเสริมช่วยให้พฤติกรรมเกิดขึ้นได้
สรุป
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยมเชื่อว่ามนุษย์เกิดมาพร้อมกับความว่างเปล่า
ไม่ดีไม่เลว การกระทำต่างๆ
ของมนุษย์เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอกโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า
พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า
การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้จะต้องมีการการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง
รวมไปถึงแรงเสริมที่จะช่วยให้พฤติกรรมเกิดขึ้นได้
ที่มา
ทิศนา แขมมณี. (2551). ศาสตร์การสอน.
กรุงเทพฯ :จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดร.วิชัย ตันศิริ. (2549). อุดมการณ์ทางการศึกษา.
กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรางค์ โค้วตระกูล. (2541). จิตวิทยาการศึกษา.
กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น