http://theory-tishafan.blogspot.com/p/constructionism.html ได้กล่าวถึง ก.ทฤษฎีการเรียนรู้
ทฤษฎี “Constructionism” เป็นทฤษฎีที่มีพื้นฐานมาจากทฤษฎีการพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ (Piaget)
เช่นเดียวกับทฤษฎีการสร้างความรู้ (Constructionism) ผู้พัฒนาทฤษฏีนี้คือ ศาสตราจารย์ ซีมัวร์ เพเพอร์ท (Seymour
Papert) แห่งสถาบันเทคโนโลยีแมสซาซูเซตส์ (Massachusetts
Institute of Technology) เพเพอร์ทได้มีโอกาสร่วมงานกับเพียเจต์และได้พัฒนาทฤษฎีนี้ขึ้นมาใช้ในวงการศึกษา
แนวความคิดของทฤษฎีนี้คือ
(สำนักงานโครงการพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ, 2542:
1-2) การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเองและด้วยตนเองของผู้เรียน
หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
จะทำให้เห็นความคิดนั้นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน
และเมื่อผู้เรียนสร้างสิ่งใดสิ่งใดขึ้นมาในโลก ก็หมายถึงการสร้างความรู้ขึ้นในตนเองนั่นเอง
ความรู้ที่ผู้เรียนสร้างขึ้นในตนเองนี้ จะมีความหมายต่อผู้เรียน จะอยู่คงทน
ผู้เรียนจะไม่ลืมง่าย
และจะสามารถถ่ายทอดให้ผู้อื่นเจ้าใจความคิดของตนได้ดีนอกจากนั้นความรู้ที่สร้างขึ้นเองนี้
ยังเป็นฐานให้ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ใหม่ต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
ข.
การประยุกต์ใช้ทฤษฎีในการเรียนการสอน
เนื่องจากทฤษฎี
“Constructionism”
และ“Constructivism” มีรากฐานมาจากทฤษฎีเดียวกัน
แนวคิดหลักจงเหมือนกาน จะมีความแตกต่างไปบ้างก็ตรงรูปแบบการปฏิบัติซึ่ง“Constructionism”
จะมีเอกลักษณ์ของตนในด้านการใช้สื่อ เทคโนโลยี วัสดุ
และอุปกรณ์ต่างๆ ที่เหมาะสมในการให้ผู้เรียนสร้างสาระและผลงานต่างๆ ด้วยตนเอง
เพเพอร์ทและคณะวิจัยแห่ง M.I.T (บุปผชาติ ทัฬหิกรณ์
ในวชิราวุธวิทยาลัย, 2541:1-7)
ได้ออกแบบวัสดุและจัดการสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่สามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี
รวมทั้งได้นำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นเครื่องมือในการให้ผู้เรียนได้มีโอกาสสร้างความรู้ในการเรียนวิชาต่างๆ
โดยเฉพาะวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เพเพอร์ทและคณะ
ได้ออกแบบสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์โลโก้ขึ้น
เพื่อให้เด็กใช้คณิตศาสตร์ในการสร้างรูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว ดนตรี เกม เป็นต้น
และได้พัฒนา “LEGO TC Logo” ซึ่งเชื่อมโยงภาษาโลโก้กับเลโก้
ซึ่งเป็นของเล่นที่มีลักษณะเป็นชิ้นส่วนที่สามารถนำมาต่อกันเป็นรูปต่างๆ ได้
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ดังกล่าวช่วยให้ผู้เรียนสามารถควบคุมเลโก้ของเล่นในคอมพิวเตอร์ให้เคลื่อนไหว
เดิน ฉายแสง หรือตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่างๆด้ามต้องการ
เป็นการช่วยให้ผู้เรียนสร้างความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ด้วยตนเองไปพร้อมๆกับการฝึกคิด
การฝึกแก้ปัญหา และฝึกความอดทน
นอกจากนั้นผู้เรียนยังเรียนรู้การบูรณาการความรู้ในหลายๆด้าน
ทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์ สุนทรียศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ และศิลปะศาสตร์
ให้เป็นประโยชน์ต่อการสร้างสรรค์ผลงาน นอกจากนั้น
เพเพอร์ทและคณะยังได้พัฒนาโปรแกรม “micro – worlds ” “robot design”รวมทั้งสถานการณ์จำลองด้วยคอมพิวเตอร์อื่นๆ ขึ้นใช้ในการสอนอีกมากมาย
อย่างไรก็ตามสำหรับผู้เรียนที่ยังไม่มีสื่อดังกล่าวใช้
เพเพอร์ทกล่าวว่าสื่อธรรมชาติและวัสดุทางศิลปะส่วนมากสามารถนำมาใช้เป็นวัสดุในการสร้างความรู้ได้ดีเช่นกัน
เช่น กระดาษ กระดาษแข็ง ดินเหนียว ไม้ โลหะ พลาสติก สบู่ และของเหลือใช้ต่างๆ
แม้ว่าผู้เรียนจะมีวัสดุที่เหมาะสำหรับการสร้างความรู้ได้ดีแล้วก็ตาม
แต่ก็อาจไม่เพียงพอสำหรับการเรียนรู้ที่ดี
สิ่งที่เป็นปัจจัยสำคัญมากอีกประการหนึ่งก็คือ บรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่ดี
ซึ่งควรมีส่วนประกอบ 3 ประการ คือ
1.
เป็นบรรยากาศที่มีทางเลือกหลากหลาย เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เลือกตามความสนใจ
เนื่องจากผู้เรียนแต่ละคนมีความชอบและความสนใจไม่เหมือนกัน
การมีทางเลือกที่หลากหลายหรือการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทำในสิ่งที่สนใจจะทำให้ผู้เรียนมีแรงจูงใจในการคิด
การทำและการเรียนรู้ต่อไป
2.
เป็นสภาพแวดล้อที่มีความแตกต่างกันอันเป็นประโยชน์ต่อการสร้างความรู้ เช่น
มีกลุ่มคนที่มีวัย ความถนัด ความสามารถ และประสบการณ์แตกต่างกัน
ซึ่งจะเอื้อให้มีการช่วยเหลือกันและกัน การสร้างสรรค์ผลงาน
และความรู้รมทั้งพัฒนาทักษะทางสังคมด้วย
3.
เป็นบรรยากาศที่มีความเป็นมิตร เป็นกันเอง บรรยากาศที่ทำให้ผู้เรียนรู้สึกอบอุ่น
ปลอดภัย สบายใจ จะเอื้อให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างมีความสุข
การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้สร้างความรู้ด้วยตนเองนี้จะประสบความสำเร็จได้มากน้อยเพียงใด
มักขึ้นกับบทบาทของครู ครูจำเป็นตองปรับเปลี่ยนบทบาทของตนให้สอดคล้องกับแนวคิด
ครูจะต้องทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน
ให้คำปรึกษาชี้แนะแก่ผู้เรียน
เกื้อหนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญในด้านการประเมินผลการเรียนรู้นั้นจำเป็นต้องมีการประเมินทั้งทางด้านผลงาน
(product)
และกระบวนการ (process) ซึ่งสามารถใช้วิธีการที่หลากหลาย
เช่น การประเมินตนเอง การประเมินโดยครูและเพื่อน การสังเกต การประเมินโดยใช้แฟ้มผลงาน
เป็นต้น
ทฤษฎีการสร้างความรู้โดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน
(Constructionism)
นี้ มีผู้นำมาใช้ในประเทศไทยมาเมื่อไม่นานนี้
บุคคลสำคัญท่านหนึ่งที่เป็นผู้นำแนวคิดนี้มาใช้อย่างจริงจังเป็นรูปธรรม ก็คือ
ศาสตราจารย์ ดร. ชัยอนันต์ สมุทวณิช (วชิราวุธวิทยาลัย,2541:ก,8-13) ผู้บังคับการวิชาราวุธวิทยาลัย ท่านให้ชื่อทฤษฎีนี้ไว้หลายชื่อ เช่น
ทฤษฎี “คิดเอง – ทำเอง” “คิดเอง – สร้างเอง” และ“ทำไป – เรียนไป”
และได้นำทฤษฎีนี้มาศึกษาวิจัยและใช้ในการเรียนการสอนของวชิราวุธวิทยาลัยมาประมาณ 2
ปีแล้ว ปรากฏว่าได้ผลเป็นที่น่าสนใจมาก
สำหรับทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง
(Constructivism)
และทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (Constructionism)
ทั้ง 2 ทฤษฎีมีพื้นฐานมาจากทฤษฎีพัฒนาการทาง เชาว์ปัญญาของเพียเจต์
ซึ่งอธิบายกระบวนการเรียนรู้ของมนุษย์ว่า เป็นประสบการณ์เฉพาะของตน
และเป็นประสบการณ์ที่ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้จัดกระทำ (acting on) กับข้อมูลทั้งหลายที่รับเข้ามา มิใช่เป็นเพียงผู้รับข้อมูล (taking
in) เท่านั้น โดยให้ผู้เรียนเป็นผู้สร้าง (Construct) ความรู้จากความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่พบเห็นกับความรู้ความเข้าใจที่มีอยู่เดิม
โดยใช้กระบวนการทางปัญญา (cognitive apparatus) ของตน
ประเด็นสำคัญประการที่สองของทฤษฎี
คือ การเรียนรู้ตามแนวสร้างองค์ความรู้ คือ โครงสร้างทางปัญญา
เป็นผลของความพยายามทางความคิด
ผู้เรียนสร้างเสริมความรู้ผ่านกระบวนการทางจิตวิทยาด้วยตนเอง
ผู้สอนไม่สามารถปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางปัญญาของผู้เรียนได้
แต่ผู้สอนสามารถช่วยผู้เรียนปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางปัญญาได้โดยจัดสภาพการณ์ที่ทำให้เกิดภาวะไม่สมดุลขึ้น
เติมศักดิ์ คถวณิช
(2549 : 291-295) ได้รวบรวมแล้วกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า แนวคิดของทฤษฏีนี้ คือ
การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเอง
หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
จะทำให้ความคิดเห็นนั้นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น
หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ
ครูจะต้องทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้แก่ผู้เรียน
ให้คำปรึกษาชี้แนะแก่ผู้เรียน เกื้อหนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ ในการประเมินผลนั้นต้องมีการประเมินทั้งทางด้านผลงานและกระบวนการซึ่งสามารถใช้วิธีการที่หลากหลาย
เช่น การประเมินตนเอง การประเมินโดยครูและเพื่อน การสังเกต
การประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมงาน
สุรางค์ โค้วตระกูล.
(2549 : 21-22) ได้รวบรวมแล้วกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า Constructionism เป็นทฤษฎีที่มีพื้นฐานมากจากทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา
ของเพียเจต์ (Piaget) ทฤษฎี Constructionism พัฒนาโดย Seymour Papert แห่งสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์
(Massacchusetts Institute of Technology)
แนวคิดของทฤษฎีนี้
เชื่อว่า การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเองและต้วยตนเองของผู้เรียน
หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงาน
โดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม จะทำให้เห็นความคิดนั้นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน
และเมื่อผู้เรียนสร้างสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมาในโลก ก็หมายถึงการสร้างความรู้ขึ้นในตนเองนั่นเอง
ความรู้ที่ผู้เรียนสร้างขึ้นในตนเองนี้ จะมีความหมายต่อผู้เรียนจะอยู่คงทน
ผู้เรียนจะไม่ลืมง่าย และจะสามารถถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจความคิดของตนได้ดี
นอกจากนั้นความรู้ที่สร้างขึ้นเองนี้ ยังจะเป็นฐานให้ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ใหม่ต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
สรุป
การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างความรู้ในตนเอง
หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงาน
โดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม จะทำให้ความคิดเห็นนั้นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้นการเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเองและด้วยตนเองของผู้เรียน
หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงาน
โดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม จะทำให้เห็นความคิดนั้นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน
และเมื่อผู้เรียนสร้างสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมาในโลก
ก็หมายถึงการสร้างความรู้ขึ้นในตนเองนั่นเอง
ความรู้ที่ผู้เรียนสร้างขึ้นในตนเองนี้ จะมีความหมายต่อผู้เรียนจะอยู่คงทน
ผู้เรียนจะไม่ลืมง่าย และจะสามารถถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจความคิดของตนได้ดี
ที่มา
http://theory-tishafan.blogspot.com/p/constructionism.html.
ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน. เข้าถึงเมื่อ 12 สิงหาคม
2558.
เติมศักดิ์ คถวณิช.เอกสารประกอบการเรียนวิชาจิตวิทยาสำหรับครู.มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
สุรางค์
โค้วตระกูล.(2545).ศาสตร์การสอน.กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น