ทิศนา แขมมณี. (2554:หน้า90-95) กล่าวว่าทฤษฎีพัฒนาการทางเชาวน์ปัญญาของเพียเจต์และของวีก็อทกี้เป็นรากฐานสำคัญของทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง
เพียเจต์อธิบายว่า
พัฒนาการทางเชาวน์ปัญญาของบุคคลมีการปรับตัวผ่านทางกระบวนการซึมซับหรอดูดซึมและกระบวนการปรับโครงสร้างทางปัญญา ส่วนวีก็อทกี้ ให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมและสังคมมาก นักทฤษฎีกลุ่มการสร้างความรู้ มีความเห็นว่า
โลกนี้จะมีอยู่จริง
และสิ่งต่างๆมีอยู่ในโลกจริง
แต่ความหมายของสิ่งเหล่านั้น
มิได้มีอยู่ในตัวของมัน
สิ่งต่างๆมีความหมายขึ้นมาจากการคิดของคนที่รับรู้สิ่วนั้น และแต่ละคนจะให้ความหมายของสิ่งเดียวกัน แตกต่างกันไปอย่างหลากหลาย
สุรางค์ โคว้ตระกูล
กล่าวว่า ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) เป็น
ทฤษฏีที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการและวิธีการของบุคคลในการสร้างความรู้ความเข้าใจจากประสบการณ์
รวมทั้งโครงสร้างทางปัญญาและความเชื่อที่ใช้ในการแปลความหมายเหตุการณ์และ
สิ่งต่างๆเป็นกระบวนการที่ผู้เรียนจะต้องจัดกระทำกับข้อมูล
นอกจากกระบวนการเรียนรู้จะเป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์ภายในสมองแล้ว ยังเป็นกระบวนการทางสังคมด้วย การสร้างความรู้จึง
เป็นกระบวนการทั้งด้านสติปัญญาและสังคมควบคู่กันไป หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะมุ่งเน้นไปที่กระบวนการสร้างความรู้(process
of knowledge construction)
http://www.novabizz.com/NovaAce/Learning/Learning_Constructivism.htm
ได้กล่าวถึง ทฤษฎีสร้างความรู้ใหม่โดยผู้เรียนเอง (Constructivism)
เป็นทฤษฎีการเรียนรู้ที่มีพื้นฐานทางจิตวิทยา ปรัชญา และมนุษยวิทยา
โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากจิตวิทยาด้านปัญญา เป็นทฤษฎี ที่อธิบายถึง
การได้มาซึ่งความรู้ และนำความรู้นั้นมาเป็นของตนได้อย่างไร ซึ่งเพอร์กิน
ได้อธิบายว่า Constructivism คือ การ ที่ผู้เรียน
ไม่ได้รับเอาข้อมูล และเก็บข้อมูลความรู้นั้นมาเป็นของตนทันที แต่จะแปลความหมาย
ของข้อมูลความรู้เหล่านั้น โดย ประสบการณ์ของตน และเสริมขยาย
และทดสอบการแปลความหมายของตนด้วย ซึ่งสัมพันธ์กับทฤษฎีพัฒนาการทางปัญญา
ของพีอาเจย์ การเรียนรู้เกิดจาก การค้นพบและประสบการณ์ ทฤษฎีนี้เกิดจาก
ความคิดที่ว่า การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากการที่ แต่ละบุคคลได้สร้าง ความรู้ขึ้นและ
ทำให้สำเร้จ โดยผ่านกระบวนการ ของความสมดุล ซึ่งกลไกของความสมดุล เป็นการปรับตัว
ของตนเอง ให้เข้ากับ สิ่งแวดล้อม เพื่อให้อยู่ใน สภาพสมดุล ประกอบด้วยกระบวนการ 2 อย่าง คือ
1.การซึมซาบหรือดูดซึม
(Assimilation) เป็นกระบวนการที่มนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและซึมซาบหรือดูดซึมเอา
ประสบการณ์ใหม่ เข้าสู่ประสบการณ์เดิม ที่เหมือนหรือ คล้ายคลึงกัน
โดยสมองจะปรับเอาประสบการณ์ใหม่เข้ากับความคิด ความรู้ในโครงสร้างที่เกิดจาก
การเรียนรู้เดิมที่มีอยู่
2. การปรับโครงสร้างทางปัญญา
(Accomodation) เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องมาจากกระบวนการซึมซาบหรือดูดซึม
คือ เมื่อได้ซึมซาบ หรือดูดซึม เอาประสบการณ์ใหม่ เข้าไปในโครงสร้างเดิมแล้ว
ก็จะทำการปรับประสบการณ์ใหม่ ให้เข้ากับ
ครงสร้างของความรู้เดิมที่มีอยู่ในสมองก่อนแล้ว
แต่ถ้าไม่เข้ากันได้ก็จะทำการสร้างโครงสร้างใหม่ขึ้นมาเพื่อรับประสบการณ์ ใหม่นั้น
ทฤษฎีการสร้างความรู้ใหม่โดยผู้เรียนเอง
ผู้เรียนจะปะทะสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม การเรียนรู้ของแต่ละบุคคล
จะมีระดับแตกต่างกันไป เรียกได้ว่าสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลมาากขึ้นเป็นลำดับ
และผู้เรียน จะควบคุมการเรียนรู้ด้วยตนเอง ทฤษฎีสร้างความรู้ใหม่
โดยผู้เรียนเองมีหลักการว่า การเรียนรู้ คือ การแก้ปัญหา ซึ่งขึ้นอยู่กับการค้นพบ
ของแต่ละบุคคล และ ผู้เรียนจะมีแรงจูงใจจากภายใน ผู้เรียนจะเป็นผู้กระตือรือร้น
มีการควบคุมตนเองและเป็นผู้ที่มีการตอบสนองด้วยจุดมุ่งหมาย ของการสอนจะมีการ
ยืดหยุ่นโดยยึดหลักว่า ไม่มีวิธีการสอนใดที่ดีที่สุด
ดังนั้นเป้าหมายของการออกแบบการสอนก็ควรจะต้องพิจารณาเกี่ยวกับ
การสร้างความคิดหรือปัญญาให้เป็นเครื่องมือ
สำหรับนำเอาสิ่งแวดล้อมของการเรียนที่มีประโยชน์มา
ช่วยให้เกิดการสร้างความรู้ให้แก่ผู้เรียน การนำเอาทฤษฎีการเรียนรู้การสร้างความรู้ใหม่โดยผู้เรียนเองมาใช้
จะต้องคำนึงถึง เครื่องมืออุปกรณ์การสอนด้วย
เพราะทฤษฎีนี้เหมาะสำหรับเครื่องมืออุปกรณ์ที่ผู้เรียนสามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือหาความรู้
ด้วยตนเอง เช่น คอมพิวเตอร์ ดังนั้นเครื่องมือทั้งHardware และ Software
จะต้องเหมาะสมเพื่อสนับสนุนทฤษฎีนี้
สรุป
ทฤษฎีการเรียนรู้แบบสร้างความรู้ใหม่โดยผู้เรียนเองนี้จะไม่เน้นการให้เนื้อหาที่ผู้เรียนจะต้องเรียนแต่เน้นที่ตัวผู้เรียน
และประสบการณ์ของผู้เรียน เพอร์กินได้อธิบายว่า Constructivism ก็คือการที่ผู้เรียนไม่รับเอา
หรือเก็บเอาไว้ แต่เฉพาะข้อมูล ที่ได้รับแต่ต้องแปลความ ของข้อมูลเหล่านั้น
โดยประสบการณ์ และเสริมขยาย ตลอดจนทดสอบ การแปลความนั้นด้วย
ที่มา
http://www.novabizz.com/NovaAce/Learning/Behavioral_Learning_Theories.htm.
ทฤษฎีสร้างความรู้ใหม่โดยผู้เรียนเอง (Constructivism).
เข้าถึงเมื่อ 12 สิงหาคม 2558.
ทิศนา แขมมณี. 2554. ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. หน้า90-95
สุรางค์ โคว้ตระกูล. จิตวิทยาการศึกษา, กรุงเทพฯ:
สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น