วันพฤหัสบดีที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสานของกาเย (Gagne’s eclecticism)

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสานของกาเย (Gagne’s eclecticism)


ทิศนา แขมมณี. (2550 : 121-136) กล่าวไว้ว่า Gagne and Briggs ทฤษฎีการเรียนรู้ของกานเย กล่าวไว้ว่า การจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบซึ่งเริ่มจากง่ายไปหายากมีทั้งหมด 8 ประเภทดังนี้
1.  การเรียนรู้สัญญาณ (signal-learning) เป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่เป็นไปโดยอัตโนมัติ อยู่นอกเหนืออำนาจจิตใจ ผู้เรียนไม่สามารถบังคับพฤติกรรมไม่ให้เกิดขึ้นได้
2.  การเรียนรู้สิ่งเร้า การตอบสนอง (stimulus-response learning) เป็นการเรียนรู้ต่อเนื่องจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง แตกต่างจากการเรียนรู้สัญญาณเพราะผู้เรียนสามารถควบคุมพฤติกรรมตนเองได้
3.  การเรียนรู้การเชื่อมโยงแบบต่อเนื่อง (chaining) เป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองติดต่อกับเป็นการเรียนรู้ในด้านทักษะ  เช่น  การเขียน  การอ่าน  การพิมพ์ดีด  และการเล่นดนตรี  เป็นต้น
4.  การเชื่อมโยงทางภาษา (verbal association) เป็นการเรียนรู้ลักษณะคล้ายกับการเรียนรู้การเชื่อมโยงแบบต่อเนื่องแต่เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้ภาษาโดยออกมาเป็นคำพูด  แล้วจึงใช้ตัวอักษร  เช่น  การเรียนการใช้ภาษา รวมทั้งการเขียนตัวอักษรด้วย
5.  การเรียนรู้ความแตกต่าง (discrimination learning) เป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถมองเห็นความแตกต่างของสิ่งต่างๆโดยเฉพาะความแตกต่างตามลักษณะของวัตถุ
6.  การเรียนรู้ความคิดรวบยอด (concept learning) เป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถจัดกลุ่มสิ่งเร้าที่มีความเหมือนกันหรือแตกต่างกัน
7.  การเรียนรู้กฎ (rule learning) เป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากการรวมหรือเชื่อมโยงความคิดรวบยอดตั้งแต่สองอย่างขึ้นไปและตั้งเป็นกฎเกณฑ์ขึ้น
8.  การเรียนรู้การแก้ปัญหา (problem solving) เป็นการเรียนรู้ที่จะแก้ปัญหาโดยการนำกฎเกณฑ์ต่างๆมาใช้ การเรียนรู้นี้เป็นกระบวนการที่เกิดภายในตัวผู้เรียน

ปรียาพร  วงศ์อนุตรโรจน์  (2543 : 86-88 ) กล่าวว่าทฤษฎีการเรียนรู้ของ  Gagne     ได้ผสมผสานทฤษฎีพฤติกรรมนิยมกับทฤษฏีความรู้ความเข้าใจ  แล้วสรุปเป็น  8  ขั้นตอนในการเรียนรู้
1.  การเรียนรู้สัญญาณ  ( Sign  Learning ) เป็นการเรียนรู้ที่อยู่ในระดับต่ำสุด  เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นอย่างไม่ตั้งใจ  เช่น  จากการทดลองการหลั่งน้ำลายของสุนัข  เมื่อสุนัขได้ยินเสียงกระดิ่ง  ตามทฤษฎีการเรียนรู้แบบมีเงื่อนไขของ  Pavlov  การเรียนรู้สัญญาณเป็นสิ่งที่เราสามารถสังเกตเห็นจากชีวิตประจำวันของเรา  ได้แก่  การกระพริบตา  เมื่อมีของมากระทบตาเรา
2.  การเรียนรู้ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง  ( Stimulus  Response  Learning ) เป็นการเคลื่อนไหวของอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายต่อสิ่งเร้า  เป็นการเน้นข้อต่อระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองโดยผู้เรียนเป็นผู้กระทำเอง  เช่น  การทดลองจิกแป้นสีของนกพิราบจากการทดลองของ  Skinner
3.  การเรียนรู้การเชื่อมโยง  ( Chaining )   เป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองติดต่อกับเป็นการเรียนรู้ในด้านทักษะ  เช่น  การเขียน  การอ่าน  การพิมพ์ดีด  และการเล่นดนตรี  เป็นต้น
4.  การเชื่อมโยงทางภาษา  ( Verbal  Association ) เป็นการเชื่อมโยงความหมายทางภาษาโดยออกมาเป็นคำพูด  แล้วจึงใช้ตัวอักษร  เช่น  การเรียนการใช้ภาษา รวมทั้งการเขียนตัวอักษรด้วย
5.  การแยกประเภท  ( Multiple  Discrimination  Learning ) เป็นความสามารถในการแยกสิ่งเร้าและการตอบสนอง  ผู้เรียนเห็นความแตกต่างของสิ่งของประเภทเดียวกัน  เป็นการจำแนกความแตกต่างด้านทักษะและภาษา  สามารถแยกลักษณะของลายเส้นจากหมึกได้
6.  การเรียนรู้ความคิดรวบยอด  ( Concept  Learning ) เป็นความสามารถที่ผู้เรียนมองเห็นลักษณะร่วมของสิ่งต่างๆ  เช่น  เมื่อนึกถึงวิทยุก็นึกถึงความถี่ของเสียง  การใช้ไฟฟ้าและแบตเตอรี่การรับฟังข่าวสารบันเทิงได้
7.  การเรียนรู้หลักการ  ( Principle  Learning ) เป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากการนำความคิดรวบยอดสองความคิดหรือมากกว่านั้นมาสัมพันธ์กัน แล้วสรุปตั้งเป็นกฎเกณฑ์ขึ้น  เช่น  ไฟฟ้าเป็นสื่อนำความร้อน
8.  การเรียนรู้การแก้ปัญหา  ( Problem - Solving ) การเรียนรู้ด้วยการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากที่ผู้เรียนนำหลักการที่มีประสบการณ์มาก่อนมาใช้ในการแก้ปัญหา  เป็นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมและปัญหา  เช่น  ไฟฟ้าเป็นสื่อนำความร้อน  เราก็นำไฟฟ้ามาใช้หุงต้มได้

สุริน ชุมสาย ณ อยุธยา. (http://surinx.blogspot.com/2010/08/2550-40-107-3-1-2-3-20-3-20-4-2550-45.html) ได้รวบรวมไว้ว่า  กานเย (Gagne) ได้จัดประเภทของการเรียนรู้ เป็นลำดับขั้นจากง่ายไปหายากไว้ 8 ประเภท ดังนี้
1.1 การเรียนรู้สัญญาน(signal-learning) เป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่เป็นไปโดยอัติโนมัติ อยู่นอกเหนืออำนาจจิตใจ ผู้เรียนไม่สามารถบังคับพฤติกรรมใหม่ให้เกิดขึ้นได้ การเรียนรู้แบบนี้เกิดจากการที่คนเรานำเอาลักษณะการตอบสนองที่มีอยู่แล้วมาสัมพันธ์กับสิ่งเร้าใหม่ที่มีความใกล้ชิดกับสิ่งเร้าเดิม การเรียนรู้สัญญาน เป็นลักษณะการเรียนรู้แบบการวางเงื่อนไขของพาฟลอฟ
1.2 การเรียนรู้สิ่งเร้า-การตอบสนอง(stimulus-response)เป็นการเรียนรู่ต่อเนื่องจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง แตกต่างจากการเรียนรู้สัญญาน เพราะผู้เรียนสามารถควบคุมพฤติกรรมตนเองได้ ผู้เรียนแสดงพฤติกรรม เนื่องจากได้รับแรงเสริม การเรียนรู้แบบนี้เป็นการเรียนรู้ตามทฤษฎีการเรียนรู้แบบเชื่อมโยงของธอร์นไคด์ และการเรียนรู้แบบวางเงื่อนไข (operant conditioning) ของสกินเนอร์ซึ่งเชื่อว่าการเรียนรู้เป็นสิ่งท่ผู้เรียนเป็นผู้กระทำเองมิใช่รอให้สิ่งเร้าภายนอกมากระทำพฤติกรรมที่แสดงออกเกิดจากสิ่งเร้าภายในของผู้เรียนเอง
1.3 การเรียนรู้การเชื่อมโยงแบบต่อเนื่อง (chaining) เป็นการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและกาตอบสนองที่ต่อเนื่องกันตามลำดับ เป็นพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการกระทำ การเคลื่อนไหว
1.4 การเชื่อมโยงทางภาษา (verbal association) เป็นการเรียนรู้ในลักษณะคล้ายกับการเรียนรู้การเชื่อมโยงแบบต่อเนื่อง แต่เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้ภาษา การเรียนรู้การรับสิ่งเร้า-การตอบสนอง เป็นพื้นฐานของกาเรียนรู้แบบต่อเนื่องและการเชื่อมโยงทางภาษา
1.5 การเรียนรู้ความแตกต่าง (discrimination learning) เป็นการเรียนรู้ทีผสมผสานสามารถมองเห็นความแตกต่างของสิ่งต่างๆ โดยเฉพาะความแตกต่างตามลักษณะของวัตถุ
1.6 การเรียนรู้ความคิดรวบยอด (concept learning) เป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถจัดกลุ่มสิ่งเร้าที่มีความเหมือนหรือแตกต่างกัน โดยสามารถระบุลักษณะที่เหมือนหรือแตกต่างกันได้ พร้อมทั้งสามารถขยายความรู้ไปยังสิ่งอื่นที่นอกเหนือจากทีเคยเห็นมาก่อนได้
1.7 การเรียนรู้กฎ (rule learning) เป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากการรวมหรือเชื่อมโยงความคิดรวบยอดตั้งแต่สองอย่างขึ้นไป และตั้งเป็นกฎเกณฑ์ขึ้น การที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้กฎเกณฑ์จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถนำการเรียนรู้นั้นไปใช้ในสถานการณ์ต่างๆกันได้
1.8 การเรียนรู้การแก้ปัญหา (problem solving) เป็นการเรียนรู้ที่จะแก้ปัญหา โดยการนำกฎเกณฑ์ต่างๆ มาใช้ การเรียนรู้แบบนี้เป็นกระบวนการที่เกิดภายในตัวผู้เรียน เป็นการใช้กฎเกณฑ์ในขั้นสูงเพื่อการแก้ปัญหาที่ค่อนข้างซับซ้อน และสามารถนำกฎเกณฑ์ในการแก้ปัญหานี้ไปใช้กับสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกันได้

สรุป
การเรียนรู้ของ  Gagne     ได้ผสมผสานทฤษฎีพฤติกรรมนิยมกับทฤษฏีความรู้ความเข้าใจ เป็น การจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบซึ่งเริ่มจากง่ายไปหายากมีทั้งหมด 9  ขั้น  ดังนี้
                                ขั้นที่  1  สร้างความสนใจ(Gaining attention)
                                ขั้นที่  2  แจ้งจุดประสงค์(Informing the learning)
                                ขั้นที่  3  กระตุ้นให้ผู้เรียนระลึกถึงความรู้เดิมที่จำเป็น(Stimulating recall of prerequisite learned capabilities)
                                ขั้นที่  4  เสนอบทเรียนใหม่(Presenting the stimulus)
                                ขั้นที่  5  ให้แนวทางการเรียนรู้(Providing learning guidance)
                                ขั้นที่  6  ให้ลงมือปฏิบัติ(Eliciting the performance)
                                ขั้นที่  7  ให้ข้อมูลป้อนกลับ(Feedback)
                                ขั้นที่  8  ประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดประสงค์(Assessing the performance)
                                ขั้นที่  9  ส่งเสริมความแม่นยำและการถ่ายโอนการเรียนรู้(Enhancing retention and transfer)

               
ที่มา
ทิศนา แขมมณี.(2550).การสอนจิตวิทยาการเรียนรู้ เรื่องศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. หน้า 121-126.
ปรียาพร  วงศ์อนุตรโรจน์. (2543).ทฤษฎีการเรียนรู้.กรุงเทพฯ :  สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.หน้า 86-88.
สุริน ชุมสาย ณ อยุธยา.[Online]. ทฤษฎีและแนวในการจัดการเรียนรู้.

http://surinx.blogspot.com/2010/08/2550-40-107-3-1-2-3-20-3-20-4-2550-45.html. เข้าถึงเมื่อ 12 สิงหาคม 2558.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น