วันพุธที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการฝึกจิตหรือสมอง (Mental Discipline)

ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการฝึกจิตหรือสมอง (Mental Discipline)



สุรางค์ โค้วตระกูล (1902:44) กล่าวว่า วัยแรกของชีวิตเป็นวัยที่เป็นรากฐานเบื้องต้น และวัยต่อๆมาก็สร้างจากรากฐานนี้  เหมือนกับการสร้างบ้านจะต้องมีรากฐานที่ดี สำหรับชีวิตของคนก็เช่นเดียวกัน ถ้าหากในวัยเด็กทารกได้รับการดูแลอย่างดีและอบอุ่น ก็จะช่วยให้เด็กมีความเชื่อถือในผู้อื่นที่อยู่รอบๆ แต่บุคลิกภาพของแต่ละคนเป็นเรื่องที่เปลี่ยนแปลงเสมอ และทุกคนมีโอกาสที่จะแก้ไขบุคลิกภาพของตน และผู้ใหญ่ที่อยู่แวดล้อมก็มีส่วนที่จะช่วยส่งเสริม หรือแก้ไขบุคลิกภาพของผู้เยาว์ที่อยู่ในความดูแลให้เจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความสุข

อารี พันธ์มณี (2555:27)   กล่าวว่า พลังจิตทำหน้าที่ควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ 3 ลักษณะ ดังนี้
- จิตสำนึก คือ ภาวะจิตที่รู้ตัวอยู่ตลอดเวลา
- จิตกึ่งสำนึก คือ ภาวะจิตที่ระลึกได้
- จิตไร้สำนึก คือ ภาวะจิตที่ไม่รู้ตัว
ฟรอยด์ เชื่อว่า พฤติกรรมอปกติสามารถวิเคราะห์และอธิบายได้ด้วยแรงขับขอจิตไร้สำนึก โดยการใช้เทคนิคการสะกดจิต การให้ระลึกเสรี เพื่อนำจิตไร้สำนึกออกมา และวิเคราะห์ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในจิตไร้สำนึก ก็จะสามารถเข้าใจบุคลิกภาพและพฤติกรรมอปกติได้ พฤติกรรมทั้งหลายมีสาเหตุเกิดจากพลังผลักดันทางเพศ ความคิดเช่นนี้ได้รับการต่อต้านอย่างมากในระยะแรกๆ แต่ต่อมาหลักการทางจิตวิเคราะห์ก็ได้รับการยอมรับในการนำไปใช้ในวงการของจิตแพทย์ หรือการบำบัดรักษาอาการที่ผิดปกติทางอารมณ์และจิตใจ

ทิศนา แขมมณี (2555:46)   กล่าวว่า
1. พัฒนาการในเรื่องต่างๆเป็นความสามารถของมนุษย์ มิใช่พระเจ้าบันดาลให้เกิด
2. มนุษย์เกิดมามีลักษณะไม่ดีไม่เลว และการกระทำของมนุษย์เกิดจากแรงกระตุ้นภายใน
3. มนุษย์เป็นผู้มีเหตุผลพร้อมที่จะพัฒนาตนเอง มนุษย์มีอิสระที่จะเลือกตามความเข้าใจและเหตุผลของตน หากได้รับการฝึกอบรมก็จะสามารถพัฒนาศักยภาพที่ติดตัวมา
4. มนุษย์มีความรู้ติดตัวมาตั้งแต่เกิด แต่ถ้าขาด การกระตุ้นความรู้จะไม่แสดงออกมา


สรุป
              ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการฝึกจิตหรือสมอง  เป็นกลุ่มที่พูดถึงจิต สมอง และสติปัญญาของบุคคลว่ามีความแตกต่างกัน ซึ่งสามารถที่ฝึกและพัฒนาให้ปราดเปรื่องขึ้นได้ หากบุคคลได้รับการเรียนรู้และฝึกฝนเป็นอย่างดี และเมื่อบุคคลเรียนรู้สิ่งที่ยากมากขึ้นเท่าไร จิตและสมองก็จะแข็งแกร่งมากขึ้นเท่านั้น


ที่มา
สุรางค์ โค้วตระกูล.(2541).จิตวิทยาการศึกษา.กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อารี พันธ์มณี.(2546).จิตวิทยาสร้างสรรค์การเรียนการสอน.กรุงเทพฯ:ใยไหม เอดดูเคท.

ทิศนา แขมมณี.(2553).ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ม                                             ประสิทธิภาพ.กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น