ณัชชากัญญ์
วิรัตนชัยวรรณ (http://www.learners.in.th)
ได้กล่าวว่า นักคิดกลุ่มมนุษยนิยมให้ความสำคัญของความเป็นมนุษย์และมองมนุษย์ว่ามีคุณค่า มีความดีงาม
มีความสามารถ มีความต้องการ และมีแรงจูงใจภายในที่จะพัฒนาศักยภาพของตน ทฤษฏีและแนวคิดที่สำคัญๆ ในกลุ่มนี้มี 2 ทฤษฏีและ 5 แนวคิด คือ
ทฤษฎีการเรียนรู้ของมาสโลว์
แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้
คือ มนุษย์ทุกคนมีความต้องการพื้นฐานตามธรรมชาติเป็นลำดับขั้น และต้องการที่จะรู้จักตนเองและพัฒนาตนเอง
ทฤษฎีการเรียนรู้ของรอเจอร์
แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้
คือ
มนุษย์สามารถพัฒนาตนเองได้ดีหากอยู่ในสภาวะที่ผ่อนคลายและเป็นอิสระ
การจัดบรรยากาศที่ผ่อนคลายและเอื้อต่อการเรียนเรียนรู้และเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
โดยครูเป็นผู้ชี้แนะและทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนและการเรียนรู้จะเน้นกระบวนการเป็นสำคัญ
แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของโคมส์
เชื่อว่าความรู้สึกของผู้เรียนมีความสำคัญต่อการเรียนรู้มาก
เพราะความรู้สึกและเจตคติของผู้เรียนมีอิทธิพลต่อกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน
แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของโนลส์
เชื่อว่าผู้เรียนจะเรียนรู้ได้มากหากมีส่วนร่วมในการเรียนรู้
มีอิสระที่จะเรียนและได้รับการส่งเสริมในการพัฒนาด้วยตนเอง
แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของแฟร์
เชื่อว่าผู้เรียนต้องถูกปลดปล่อยจากการกดขี่ของครูที่สอนแบบเก่า
ผู้เรียนมีศักยภาพและมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่จะกระทำสิ่งต่างๆ
ด้วยตนเอง
แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของอิลลิช
เชื่อว่าสังคมแห่งการเรียนรู้เป็นสังคมที่ต้องล้มเลิกระบบโรงเรียน
การศึกษาควรเป็นการศึกษาตลอดชีวิตแบบเป็นไปตามธรรมชาติ โดยให้โอกาสในการศึกษาเล่าเรียนแก่บุคคลอย่างเต็มที่
แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของนีล เชื่อว่ามนุษย์เป็นผู้มีศักดิ์ศรี มีความดีโดยธรรมชาติ หากมนุษย์อยู่ในสภาพแวดล้อมที่อบอุ่น บริบูรณ์ด้วยความรัก มีอิสรภาพและเสรีภาพ มนุษย์จะพัฒนาไปในทางที่ดีทั้งต่อตนเองและสังคม
ทิศนา แขมมณี (2551:68) นักคิดกลุ่มมนุษยนิยม
ให้ความสำคัญ ของความเป็นมนุษย์ และมองว่า มนุษย์มีคุณค่า มีความดีงาม
มีความสามารถ และมีแรงจูงใจภายในที่จะพัฒนาศักยภาพของตน
หากบุคคลได้รับอิสรภาพและเสรีภาพ มนุษย์จะพยายามพัฒนาตนเองไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
ศักดา ปรางค์ประทานพร. (2526 : 31) กล่าวว่า
มนุษย์นิยม
ถือว่าเป็นมนุษย์เป็นผลผลิตของวิวัฒนาการ ถึงแม้จะมีวิวัฒนาการมาจากสัตว์แต่ปัจจุบันก็ต่างจากสัตว์มาก
เรามีวิถีชีวิตและประสบการณ์ที่เป็นเฉพาะตัวของเราเอง
มนุษย์มีความสามารถที่จะชื่นชมและลิ้มรสสิ่งต่างๆ ได้ มีจารีตประเพณีและศิลปะต่างๆ
สรุป
กลุ่มมนุษยนิยมเชื่อว่า
มนุษย์มีคุณค่า มีความดีงาม มีความต้องการความรัก ความอบอุ่น ความเข้าใจ มีความสามารถ
ที่แตกต่างกันมนุษย์ต่างพยายามที่จะค้นหาตนเองทำความเข้าใจตนเองและมีสิทธิแสวงหาประสบการณ์ตามความต้องการของตนเอง
เพื่อให้เกิดการพัฒนาถึงขั้นสูงสุด
ซึ่งจะเกิดการพัฒนาถึงขั้นสูงสุดได้ก็ต่อเมื่อสามารถเข้าใจตนเองและยอมรับผู้อื่นได้
เมื่อเกิดการพัฒนาขั้นสูงสุดแล้วข้อบังคับและระเบียบวินัยก็จะไม่จำเป็น
ที่มา
ทิศนา แขมมณี. (2551). ศาสตร์การสอน.
กรุงเทพฯ :จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ[Online].
(http://www.learners.in.th). ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม(Humanism)
. เข้าถึงเมื่อ 5 สิงหาคม 2558.
ศักดา ปรางค์ประทานพร.
(2526). ปรัชญาการศึกษาฉบับพื้นฐาน. กรุงเทพฯ :สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น